แผนภูมิแท่ง
คือ
แผนภูมิที่ประกอบด้วย แกนสองแกน คือแกนนอนและแกนตั้ง
และรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความกว้างของแต่ละรูปเท่ากัน
ส่วนความยาวจะแปรตามขนาดของข้อมูล เรียกรูปสี่เหลี่ยมแต่ละรูปนี้ว่า แท่ง (bar) การนำเสนอข้อมูลอาจจัดให้แท่งแต่ละแท่งอยู่ในแนวตั้ง
หรือแนวนอนก็ได้ โดยวางเรียงให้ชิดกันหรือห่างกันเล็กน้อยเท่าๆ
กันก็ได้ พร้อมทั้งเขียนรายละเอียดของแต่ละแท่งกำกับไว้
นอกจากนี้ เพื่อความสวยงาม อาจจะใช้วิธีแรเงาหรือระบายสี
เพื่อให้ดูสวยงามและสะดวกในการศึกษาเปรียบเทียบ
ข้อมูลที่เหมาะสำหรับการใช้แผนภูมิแท่งในการนำเสนอข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลที่จำแนกตามคุณภาพ ตามกาลเวลา และตามภูมิศาสตร์
แผนภูมิแท่งจำแนกได้หลายประเภท ได้แก่ แผนภูมิแท่งเชิงเดียว แผนภูมิแท่งเชิงซ้อน แผนภูมิแท่งส่วนประกอบ แผนภูมิแท่งบวก-ลบ แผนภูมิแท่งซ้อนกัน แผนภูมิแท่งปิระมิด ในชั้นนี้จะกล่าวถึงแผนภูมิแท่งเชิงเดียวและแผนภูมิแท่งเชิงซ้อนเท่านั้น
1) แผนภูมิแท่งเชิงเดียว หมายถึง แผนภูมิที่ใช้สำหรับข้อมูลชุดเดียว และแสดงลักษณะของข้อมูลที่สนใจ เพียงลักษณะเดียว เช่น ความถี่ จำนวนเงิน จำนวนภาษี มูลค่าการส่งออก เป็นต้น
2) แผนภูมิเชิงซ้อน หมายถึง แผนภูมิแท่งที่แสดงการเปรียบเทียบของข้อมูลสองชุดขึ้นไป หรือเปรียบเทียบลักษณะของข้อมูลที่เราสนใจตั้งแต่สองลักษณะขึ้นไป บนแกนเดียวกัน เช่น เปรียบเทียบรายรับรายจ่าย เปรียบเทียบจำนวนนักเรียนชายกับจำนวนนักเรียนหญิง เป็นต้น
ข้อมูลที่เหมาะสำหรับการใช้แผนภูมิแท่งในการนำเสนอข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลที่จำแนกตามคุณภาพ ตามกาลเวลา และตามภูมิศาสตร์
แผนภูมิแท่งจำแนกได้หลายประเภท ได้แก่ แผนภูมิแท่งเชิงเดียว แผนภูมิแท่งเชิงซ้อน แผนภูมิแท่งส่วนประกอบ แผนภูมิแท่งบวก-ลบ แผนภูมิแท่งซ้อนกัน แผนภูมิแท่งปิระมิด ในชั้นนี้จะกล่าวถึงแผนภูมิแท่งเชิงเดียวและแผนภูมิแท่งเชิงซ้อนเท่านั้น
1) แผนภูมิแท่งเชิงเดียว หมายถึง แผนภูมิที่ใช้สำหรับข้อมูลชุดเดียว และแสดงลักษณะของข้อมูลที่สนใจ เพียงลักษณะเดียว เช่น ความถี่ จำนวนเงิน จำนวนภาษี มูลค่าการส่งออก เป็นต้น
2) แผนภูมิเชิงซ้อน หมายถึง แผนภูมิแท่งที่แสดงการเปรียบเทียบของข้อมูลสองชุดขึ้นไป หรือเปรียบเทียบลักษณะของข้อมูลที่เราสนใจตั้งแต่สองลักษณะขึ้นไป บนแกนเดียวกัน เช่น เปรียบเทียบรายรับรายจ่าย เปรียบเทียบจำนวนนักเรียนชายกับจำนวนนักเรียนหญิง เป็นต้น
การอ่านแผนภูมิแท่ง
แผนภูมิแท่ง คือ
การเขียนแท่งสี่เหลี่ยมมุมฉากแทนจำนวนของสิ่งต่างๆ
ตามมาตราส่วนที่กำหนดให้
โดยขนาดของแท่งสี่เหลี่ยมมุมฉากทุกแท่งจะต้องเท่ากัน
และจุดเริ่มต้นของทุกแท่งจะต้องอยู่ในระดับเดียวกัน
ส่วนประกอบของแผนภูมิแท่งมี
2 ส่วน คือ
1. ชื่อแผนภูมิ
2. ตัวแผนภูมิ
การอ่านแผนภูมิแท่ง
คือ สามารถอ่านจำนวนได้จากเส้นแสดงจำนวน
ตัวอย่าง การอ่านแผนภูมิแท่งที่กำหนดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก 1 รูป แทนจำนวนสิ่งของต่างๆ 10 หน่วย
และอ่านข้อมูล
คำถาม
คำตอบ
1. แผ่นภูมิแท่งข้างบนนี้แสดงอะไร
------->
แผนภูมิแสดงจำนวนนักเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่ง
2. โรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนชั้น ป.2 กี่คน
------->
มีนักเรียนชั้น ป.2 จำนวน
60 คน
3. โรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนทั้งหมดกี่คน
------->
โรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนทั้งหมด 290
คน
แผนภูมิรูปภาพ
คือ แผนภูมิที่ใช้รูปภาพแทนจำนวนของข้อมูลที่นำเสนอ
เช่น แผนภูมิรูปภาพคน รูปภาพคน 1
คน แสดงประชากรที่นำเสนอ 1 ล้านคน เป็นต้น
การเขียนแผนภูมิรูปภาพ อาจกำหนดให้รูปภาพ 1 รูปแทนจำนวนสิ่งของ 1 หน่วยหรือหลายหน่วยก็ได้แต่ละรูปต้องมีขนาดเท่ากันเสมอ
ขั้นตอนการเขียนแผนภูมิรูปภาพ
1. อ่านข้อมูลที่ได้มาให้เข้าใจ
2. พิจารณาว่าจะต้องวาดรูปภาพอะไรบ้าง โดยรูปที่วาดนั้นต้องเป็นเรื่องเดียวกับข้อมูลที่ได้มา
3. กำหนดเงื่อนไขว่าให้รูปภาพ 1 รูป แทนจำนวนสิ่งของเท่าใด
4. พิจารณาว่าต้องวาดรุปกี่รูป แทนจำนวนสิ่งของแต่ละชนิด
5. เริ่มเขียนแผนภูมิรูปภาพ โดยเริ่มกำหนดชื่อแผนภูมิ ตัวแผนภูมิ รูปภาพ และเงื่อนไข ตามลำดับ
6. รูปภาพที่วาดนั้นจะต้องมีขนาดเท่ากัน
การเขียนแผนภูมิรูปภาพ อาจกำหนดให้รูปภาพ 1 รูปแทนจำนวนสิ่งของ 1 หน่วยหรือหลายหน่วยก็ได้แต่ละรูปต้องมีขนาดเท่ากันเสมอ
ขั้นตอนการเขียนแผนภูมิรูปภาพ
1. อ่านข้อมูลที่ได้มาให้เข้าใจ
2. พิจารณาว่าจะต้องวาดรูปภาพอะไรบ้าง โดยรูปที่วาดนั้นต้องเป็นเรื่องเดียวกับข้อมูลที่ได้มา
3. กำหนดเงื่อนไขว่าให้รูปภาพ 1 รูป แทนจำนวนสิ่งของเท่าใด
4. พิจารณาว่าต้องวาดรุปกี่รูป แทนจำนวนสิ่งของแต่ละชนิด
5. เริ่มเขียนแผนภูมิรูปภาพ โดยเริ่มกำหนดชื่อแผนภูมิ ตัวแผนภูมิ รูปภาพ และเงื่อนไข ตามลำดับ
6. รูปภาพที่วาดนั้นจะต้องมีขนาดเท่ากัน
การอ่านแผนภูมิภาพ
แผนภูมิรูปภาพ คือ
การเขียนแผนภาพแสดงจำนวนสิ่งของต่างๆ
โดยใช้รูปภาพที่เหมือนกันและมีขนาดเท่ากัน
ส่วนประกอบของแผนภูมิรูปภาพ
มี 3 ส่วน คือ
1.
ชื่อแผนภูมิ
2.
ตัวแผนภูมิ
3.
ข้อกำหนดว่า รูปภาพ 1 รูป แทนจำนวนสิ่งต่างๆ กี่หน่วย เช่น 1
หน่วย 2 หน่วย 10
หน่วย เป็นต้น
การอ่านแผนภูมิรูปภาพ แสดงจำนวนไอศกรีมที่นักเรียนในห้องรับประทานในสัปดาห์ที่ผ่านมา
กำหนดให้รูปไอศกรีม 1 รูป แทนจำนวนไอศกรีม
2 แท่ง
การอ่านแผนภูมิรูปภาพ
" ในสัปดาห์ที่ผ่านมานักเรียนรับประทานไอศกรีมมากที่สุด
คือ วันศุกร์ โดยรับประทาน 14 แท่ง รองลงมา คือ วันอังคาร รับประทาน 12
แท่ง นักเรียนรับประทานไอศกรีมน้อยที่สด คือ
วันพุธ รับประทาน 6 แท่ง
และนักเรียนรับประทานไอศกรีมเท่ากันสองวัน คือ วันจันทร์กับพฤหัสบดี
รับประทาน 8 แท่ง "
วีดีโอเรื่องแผนภูมิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น